ประวัติความเป็นมา


 

ประวัติอย่างย่อของคริสตจักรลูเธอร์แรน

 
 
 
 
 
 

คริสตจักรลูเธอร์มีรากมาจากการปฏิรูปศาสนาของ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ (คศ. 1483-1546) ในปีคศ.1517 ซึ่งถือได้ว่าท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์คริสตจักร ท่านเกิดในครอบครัวชาวเหมืองถ่านหิน ที่ไอส์เลเบิร์นประเทศเยอรมันนี คุณพ่อมีความคาดหวังที่จะให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่ในเวลาต่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านลูเธอร์เปลี่ยนใจถวายตัวเป็นนักบวชในอารามออกัสติน ซึ่งที่นั่นท่านได้ฝึกฝนตนเองอย่างเคร่งครัดตามระเบียบปฏิบัติของอาราม เช่น การบำเพ็ญภาวนา การอดอาหาร การทรมานร่างกาย การแสวงบุญตามสถานที่ต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย โดยมีความหวังว่าการกระทำแบบนั้นจะทำให้พระเจ้าพอพระทัยในการกระทำของท่าน และเพื่อระงับการลงโทษและการพิพากษาจากพระเจ้า

เมื่อสำเร็จการอบรมและศึกษาเรื่องราวของคริสตศาสนศาสตร์ จากอารามแล้วท่านได้ถูกส่งไปทำงานที่คริสตจักร ณ เมืองวิทเตนเบิร์ก รวมไปถึงเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยที่นั้นด้วย ตลอดระยะที่อยู่ที่เมืองนี้ ท่านได้ทุ่มเทอย่างหนักในการศึกษาพระวจนะของพระเจ้า ตลอดทั้งการสอนและทำหน้าที่ในการเป็นผู้อภิบาลท่ามกลางคริสตจักรในเมืองวิทเตนเบิร์กด้วยเช่นเดียวกัน จนกระทั่งท่านได้ยินเรื่องราวของการขายในไถ่บาป จากนักเทศน์คนหนึ่งที่กำลังทำการเทศนาและโฆษณาถึงเรื่องราวของใบบุญไถ่บาป ณ เมืองเมืองดังกล่าว ซึ่งจากสิ่งเหล่านั้นทำให้ลูเธอร์ไม่พอใจเป็นอย่างมากและต้องการโต้แย้งคำสอนของเรื่องนี้

 
 
 
 

โดยท่านได้เขียนถ้อยแถลง 95 ข้อ ติดไว้ที่ประตูวิหารในเมืองวิทเตนเบิร์กในวันที่ 31 ตุลาคม 1517 และการถ้อยแถลงนั้นเป็นการจุดฉนวนที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันมากเกี่ยวกับข้อเขียนของลูเธอร์ มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของท่าน จนในที่สุดเกิดเรื่องราวความขัดแย้งได้เกิดขึ้นนี้ ได้นำมาสู่รอยร้าวระหว่างกลุ่มที่นิยมคำสอนของลูเธอร์และศาสนจักรโรมันคาทอลิกในสมัยนั้น และมีการเรียกชื่อกลุ่มนิยมคำสอนของลูเธอร์ว่าเป็นกลุ่ม “ลูเธอร์แรน” ซึ่งเป็นคำล้อเลียนของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของลูเธอร์ การปฏิรูปนี้ได้เกิดขึ้น ณ เมืองวิทเตนเบิร์กและลามออกไปเรื่อยๆ ในสวิชเซอร์แรน และฝรั่งเศส โดยการนำของ จอห์คาวิลและลูอิส สวิงลี่ อิทธิพลของการปฏิรูปนั้นได้นำมาสู่คำที่เรียกว่า “โปรแตสแตนท์” เป็นเสียดสีที่บ่งบอกถึงกลุ่มที่ปฏิเสธอำนาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกในสมัยนั้น

อย่างไรก็ตามเจตนาดังเดิมของท่านลูเธอร์แรน ไม่ต้องการที่จะทำให้เกิดการแตกแยกในศาสนจักร แต่ต้องการที่ให้นำสมาชิกของคริสตจักรในเวลานั้นให้เข้าใจคำสอนที่ถูกต้องตามหลักการของพระคริสตธรรมคัมภีร์ คือ “คนชอบธรรม จะมีชีวิตอยู่โดยความเชื่อ” (โรม 1:17) และการอภัยบาปผ่านทางพระเยซูคริสต์เท่านั้น ลูเธอร์ได้ทำการเขียนหลักความเชื่อของคริสตชนไว้มากกมาย รวมไปถึงการอธิบายพระคัมภีร์ และในเวลาต่อนักวิชาการได้สรุปแนวหลักคำสอนของลูเธอร์เอาไว้ สี่หลักใหญ่ๆด้วยกันคือ

ลูเธอร์ไม่ได้ทำลายหรือปฏิเสธประเพณีและศาสนพิธีต่างๆของคริสตจักรทั้งหมด แต่ยังคงรักษาไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการรักษาความเป็นระเบียบที่ดีในคริสตจักรไว้ (บทแถลงศรัทธาแห่งอ๊อกสเบิร์ก บทที่ 15)

คริสตจักรลูเธอร์แรนไม่ได้นมัสการมาร์ติน ลูเธอร์ หรือถือว่าคำสอนของลูเธอร์นั้นถูกต้องทั้งหมด แต่คริสตจักรลูเธอร์แรนสรรเสริญพระเจ้าที่ทรงใช้มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำคริสตจักรมาสู่คำสอนตามหลักของพระกิตติคุณและหลักความเชื่ออย่างถูกต้อง หลังจากนั้นคำสอนแบบลูเธอร์แรนได้แพร่กระจายออกไปในยุโรปและทั่วทุกมุมโลก จนมาสู่ในประเทศไทย

คริสตจักรลูเธอร์แรนได้ร่วมมือในการทำพันธกิจร่วมกันและช่วยเหลือกันและกันโดยในปี 1947 ได้มีการตั้งสมาพันธ์ลูเธอร์แรนแห่งโลก (Lutheran World Federation) เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ดังกล่าว หากจะกล่าวกันคริสตจักรลูเธอร์แรนเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกของนิกายโปรแตสแตนท์ก็ว่าได้ โดยมีสมาชิกทั่วโลกทั้งสิ้น 77 ล้านคน จาก 99 ประเทศ และ 149 สภาคริสตจักร (ข้อมูลจาก: https://www.lutheranworld.org/ ปี 2022)

 

ประวัติความเป็นมาสภาคริสตจักรลูเธอร์แรนในประเทศไทย

 
 
 
 
 

ในปี 1976 มิชชั่นนารี่กลุ่มแรกจากสมาคมมิชชั่นนารี่แห่งเนอร์เวย์ (NMS) คือ ศจ.เอมีลและนางเอลี โอรสเฮม และ ศจ.นิลส์ เพเตอร์และนางปีเออร์ก เชทโซ กลุ่มที่สอง นางสาวโอเซ่ ออยเย, นางสาวลีฟ ทูริด บียักไรม์, นางอัสตรี และ ศจ. เฮลเก้ ไบร์วิค ถัดมาอีกเกือบสองปี มิชชั่นลูเธอร์แรนจากประเทศฟินแลนด์ (FELM) ได้เข้าในปี 1978 นางสาวแซลลี่ ลัมโพเนน และนางสาวไร่ย่า คัคโค ตามด้วย นางสาวอันเนลี่ เกินนี่ และ ศจ.กากอบ แมเกแล และนางไมย่า

 
 
 
 
มิชชั่นนารี่กลุ่มแรกของ NMS
 
มิชชั่นนารี่กลุ่มแรกของ FELM
 
 
 
 

ถัดในปี 1980 ได้มีการลงนามข้อตกลง เพื่อจัดตั้งองค์กรร่วมที่เรียกว่า มิชชั่นลูเธอร์แรนแห่งประเทศไทย Lutheran Mission in Thailand (LMT) และในปีต่อๆมาได้องค์กรมิชชั่นลูเธอร์แรนจากประเทศฮ่องกง 1982 (ELCHK) ประเทศสิงคโปร์ 1988 (LCS) ญี่ปุ่น1989 (KJELCJ) ออสเตรเลีย 1990 (LCA) มาดากาสก้า 2014 (LCM) และประเทศใต้หวัน 2019 (TLC) โดยมีเป้าหมายเดี่ยวกันคือสนับสนุนการทำพันธกิจในคริสตจักรลูเธอร์แรนประเทศไทย

 
 
 
 
 
 
 
 

ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของคริสตจักรลูเธอร์แรนในช่วงเวลานั้น ได้มีการรับรองให้มีการก่อตั้งเป็นสภาคริสตจักรลูเธอร์แรนในประเทศไทยขึ้น หลังจากที่ได้ดำเนินคริสตจักรลูเธอร์แรนภายใต้มิชชั่นลูเธอร์แรนกว่า 18 ปี และในที่ 24 เมษายน ปี 1994 สภาคริสตจักรลูเธอร์แรนได้ ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการและได้มีบิชอปคนแรกคือ ศจ.บรรจบ กุสาวดี และในปีเดียวกันได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกในสังกัดสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย (EFT) และสมาชิกของสมาพันธ์ลูเธอร์แห่งโลก (LWF) หลังจากนั้นการดำเนินงานของคริสตจักรลูเธอร์แรนได้มีการขยายตัวออกไปตามลำดับ ทั้งในภาคอีสาน กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออก จนปัจจุบันมีคริสตจักรในเครือลูเธอร์แรนกว่า 29 แห่ง สถานประกาศและจุดประกาศกว่า 12 แห่ง มีผู้ที่ทำงานในคริสตจักรกว่า 35 คน